วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

20 คำถามกับการใช้ ปุ๋ย "อัลจินัว" ต่อ

1. แล้วทำอย่างไร จึงไม่ถูกหลอก ?
ตอบบ ให้เกษตรกรสังเกต
1. มีหน่วยงานราชการ หรือกรมวิชาการเกษตรรับรอง หรือถ้าไม่มีอย่าซื้อ
2. ผู้ขายมีหลักแหล่งที่แน่นอน หรือไม่ ถ้าไม่มีอย่าซื้อ
3. อย่าซื้อเพราะมีของแจก ของแถม หรือราคาถูก เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย
2. ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร ?
ตอบบ ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น
1. ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์
2. ปุ๋ยหมัก ได้จากการหมักซากพืช ซากสัตว์ มีทั้งแบบแห้ง และแบบน้ำ
3. ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ และไถกลบหมักในดินก่อน
ทำการเพาะปลูกจริง
3. แล้วทำไม ต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไม่ใช้อินทรีย์ ?
ตอบบ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดีแน่ แต่ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใช้จำนวนมาก (500-2,000 กก./ไร่) และต้องใช้เวลาย่อยสลายให้เกิดการสะสมธาตุอาหารในดิน โดยในช่วงแรกของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อาจทำให้ผลผลิตลดลง และที่สำคัญเกษตรกรจะประสบปัญหาไม่รู้จะหาปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากๆ ได้อย่างไร ส่วนปุ๋ยชีวภาพจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งยังสร้างปุ๋ยอินทรีย์แถมให้ฟรี ๆ อีกด้วย
4. ปุ๋ยชีวภาพสร้างปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างไร ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ในรูปของพืช(สาหร่าย,เชื้อรา) และสัตว์(แบคทีเรีย) ฉะนั้นเมื่อสิ่งเหล่านี้ตายไป ก็เป็นซากพืช ซากสัตว์ คือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น สาหร่ายโตเต็มนา จะให้ปุ๋ยต่อต้นข้าวตลอดระยะเวลาเพาะปลูก และเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว สาหร่ายที่แห้งตายไปก็คือซากพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์เต็มนานั่นเอง
5. ทำไมรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ?
ตอบบ เพราะเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ต้นทุนสูง ดินเสียหาย และต้องการให้เกษตรกรนำเศษซากพืช ที่ถูกทิ้งสูญเปล่า มาทำให้เกิดประโยชน์
6. มีคนบอกว่า ใช้ปุ๋ยชีวภาพแล้ว ต้นข้าวไม่เขียว ?
ตอบบ จริงแล้วสีเขียวของต้นข้าวตามธรรมชาติเป็นสีเขียวอ่อน เขียวนวล และเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ จะเขียวนานตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว แต่เขียวปุ๋ยเคมี จะเขียวเข้ม เขียวคล้ำ และ เขียวไม่ทนนาน เกษตรกรมักเข้าใจผิด คิดว่าเขียวเข้มคือต้นข้าวงาม พอเวลาผ่านไปต้นข้าวเริ่มสีจางลงก็นำปุ๋ยเคมีไปเติมอีก ทำให้สิ้นเปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์
7. ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวได้หรือไม่ ?
ตอบบ ใช้ได้ ในกรณีที่ดินอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันดินเพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศไทยเสื่อมสภาพ ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงควรเริ่มจากการลดการใช้เคมีครึ่งหนึ่งก่อน และใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทน จากนั้นเมื่อดินเริ่มดีขึ้น จึงค่อย ๆ ลดการใช้เคมีลง

8. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ มากกว่า 25 กิโลกรัม / ไร่ ตามที่แนะนำได้หรือไม่ ?
ตอบบ ได้ เพราะจะยิ่งเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ สร้างปุ๋ยให้กับพืช และปรับปรุงดินให้ดีเร็วขึ้น แต่ควรพิจารณาความสิ้นเปลืองด้วย
9. เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์อยู่บ้าง จะใช้ผสมผสานได้หรือไม่ ?
ตอบบ การใส่ปุ๋ยผสมผสานกัน เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด พืชจะได้ปุ๋ยตามธรรมชาติ ทั้งปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ใส่มากก็ไม่เป็นไร เพราะไม่เป็นอันตรายต่อ คน สัตว์ และพืช ส่วนปุ๋ยเคมีควรใส่ตามความจำเป็นไม่ต้องมาก
10. แล้วสัดส่วนการใส่ปุ๋ยชีวภาพ , ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ควรผสมผสานอย่างไร ?
ตอบบ สัดส่วนตายตัวไม่มี เพราะดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่มีแนวทางเบื้องต้น คือปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ เช่น
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี
สัดส่วน 1 1-10 1 ส่วน
ปุ๋ย 75 กก./ไร่ 25 25 25 กก.
100 กก./ไร่ 25 50 25 กก.

อนึ่ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากหรือน้อย ควรคำนึงถึงจำนวนเงินด้วย และถ้าทำได้เอง โดยไม่ต้องซื้อจะเป็นการดีที่สุด
11. จุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาทำปุ๋ยชีวภาพ จะทนต่อยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าได้หรือไม่?
ตอบบ จากงานวิจัยและทดสอบในแปลงนา พบว่า ถ้าเกษตรกรผสมยาดังกล่าวตามอัตราแนะนำข้างขวด จุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพสามารถทนได้
12. ปุ๋ยชีวภาพ “อัลจินัว” มีหน่วยงานใดรับรองบ้าง ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ “อัลจินัว” มีหน่วยงานราชการรองรับ คือ
1. เป็นผลงาน วิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีตราประทับข้างกระสอบ
2. ได้รับการขึ้นทะเบียนปุ๋ยชีวภาพ ต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. อยู่ภายใต้การควบคุมฉลาก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

บทส่งท้าย นาก็นาเดิม คนทำนาก็คนเดิม ไถนาปลูกข้าวก็วิธีเดิม เพียงเปลี่ยนวิธีใส่ปุ๋ยแบบ “ชีววิธี” ซึ่งง่ายนิดเดียว เกษตรกรก็จะสามารถแก้ปัญหายาก ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนลง และดินก็ดีวันดีคืน เกิดความยั่งยืนในภาคการเกษตรไปจนชั่วลูกชั่วหลานไทย
_____________________________




ฝ่ายวิชาการ ATC.

ไม่มีความคิดเห็น: