วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Start up business

I am amember of start.up.biz

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

20 คำถามกับการใช้ ปุ๋ย "อัลจินัว" ต่อ

1. แล้วทำอย่างไร จึงไม่ถูกหลอก ?
ตอบบ ให้เกษตรกรสังเกต
1. มีหน่วยงานราชการ หรือกรมวิชาการเกษตรรับรอง หรือถ้าไม่มีอย่าซื้อ
2. ผู้ขายมีหลักแหล่งที่แน่นอน หรือไม่ ถ้าไม่มีอย่าซื้อ
3. อย่าซื้อเพราะมีของแจก ของแถม หรือราคาถูก เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย
2. ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร ?
ตอบบ ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น
1. ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์
2. ปุ๋ยหมัก ได้จากการหมักซากพืช ซากสัตว์ มีทั้งแบบแห้ง และแบบน้ำ
3. ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ และไถกลบหมักในดินก่อน
ทำการเพาะปลูกจริง
3. แล้วทำไม ต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไม่ใช้อินทรีย์ ?
ตอบบ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดีแน่ แต่ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใช้จำนวนมาก (500-2,000 กก./ไร่) และต้องใช้เวลาย่อยสลายให้เกิดการสะสมธาตุอาหารในดิน โดยในช่วงแรกของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อาจทำให้ผลผลิตลดลง และที่สำคัญเกษตรกรจะประสบปัญหาไม่รู้จะหาปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากๆ ได้อย่างไร ส่วนปุ๋ยชีวภาพจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งยังสร้างปุ๋ยอินทรีย์แถมให้ฟรี ๆ อีกด้วย
4. ปุ๋ยชีวภาพสร้างปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างไร ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ในรูปของพืช(สาหร่าย,เชื้อรา) และสัตว์(แบคทีเรีย) ฉะนั้นเมื่อสิ่งเหล่านี้ตายไป ก็เป็นซากพืช ซากสัตว์ คือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น สาหร่ายโตเต็มนา จะให้ปุ๋ยต่อต้นข้าวตลอดระยะเวลาเพาะปลูก และเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว สาหร่ายที่แห้งตายไปก็คือซากพืชเป็นปุ๋ยอินทรีย์เต็มนานั่นเอง
5. ทำไมรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ?
ตอบบ เพราะเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ต้นทุนสูง ดินเสียหาย และต้องการให้เกษตรกรนำเศษซากพืช ที่ถูกทิ้งสูญเปล่า มาทำให้เกิดประโยชน์
6. มีคนบอกว่า ใช้ปุ๋ยชีวภาพแล้ว ต้นข้าวไม่เขียว ?
ตอบบ จริงแล้วสีเขียวของต้นข้าวตามธรรมชาติเป็นสีเขียวอ่อน เขียวนวล และเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ จะเขียวนานตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว แต่เขียวปุ๋ยเคมี จะเขียวเข้ม เขียวคล้ำ และ เขียวไม่ทนนาน เกษตรกรมักเข้าใจผิด คิดว่าเขียวเข้มคือต้นข้าวงาม พอเวลาผ่านไปต้นข้าวเริ่มสีจางลงก็นำปุ๋ยเคมีไปเติมอีก ทำให้สิ้นเปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์
7. ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวได้หรือไม่ ?
ตอบบ ใช้ได้ ในกรณีที่ดินอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันดินเพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศไทยเสื่อมสภาพ ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงควรเริ่มจากการลดการใช้เคมีครึ่งหนึ่งก่อน และใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทน จากนั้นเมื่อดินเริ่มดีขึ้น จึงค่อย ๆ ลดการใช้เคมีลง

8. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ มากกว่า 25 กิโลกรัม / ไร่ ตามที่แนะนำได้หรือไม่ ?
ตอบบ ได้ เพราะจะยิ่งเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ สร้างปุ๋ยให้กับพืช และปรับปรุงดินให้ดีเร็วขึ้น แต่ควรพิจารณาความสิ้นเปลืองด้วย
9. เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์อยู่บ้าง จะใช้ผสมผสานได้หรือไม่ ?
ตอบบ การใส่ปุ๋ยผสมผสานกัน เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด พืชจะได้ปุ๋ยตามธรรมชาติ ทั้งปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ใส่มากก็ไม่เป็นไร เพราะไม่เป็นอันตรายต่อ คน สัตว์ และพืช ส่วนปุ๋ยเคมีควรใส่ตามความจำเป็นไม่ต้องมาก
10. แล้วสัดส่วนการใส่ปุ๋ยชีวภาพ , ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ควรผสมผสานอย่างไร ?
ตอบบ สัดส่วนตายตัวไม่มี เพราะดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่มีแนวทางเบื้องต้น คือปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ เช่น
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี
สัดส่วน 1 1-10 1 ส่วน
ปุ๋ย 75 กก./ไร่ 25 25 25 กก.
100 กก./ไร่ 25 50 25 กก.

อนึ่ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากหรือน้อย ควรคำนึงถึงจำนวนเงินด้วย และถ้าทำได้เอง โดยไม่ต้องซื้อจะเป็นการดีที่สุด
11. จุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาทำปุ๋ยชีวภาพ จะทนต่อยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าได้หรือไม่?
ตอบบ จากงานวิจัยและทดสอบในแปลงนา พบว่า ถ้าเกษตรกรผสมยาดังกล่าวตามอัตราแนะนำข้างขวด จุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพสามารถทนได้
12. ปุ๋ยชีวภาพ “อัลจินัว” มีหน่วยงานใดรับรองบ้าง ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ “อัลจินัว” มีหน่วยงานราชการรองรับ คือ
1. เป็นผลงาน วิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีตราประทับข้างกระสอบ
2. ได้รับการขึ้นทะเบียนปุ๋ยชีวภาพ ต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. อยู่ภายใต้การควบคุมฉลาก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

บทส่งท้าย นาก็นาเดิม คนทำนาก็คนเดิม ไถนาปลูกข้าวก็วิธีเดิม เพียงเปลี่ยนวิธีใส่ปุ๋ยแบบ “ชีววิธี” ซึ่งง่ายนิดเดียว เกษตรกรก็จะสามารถแก้ปัญหายาก ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนลง และดินก็ดีวันดีคืน เกิดความยั่งยืนในภาคการเกษตรไปจนชั่วลูกชั่วหลานไทย
_____________________________




ฝ่ายวิชาการ ATC.

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หนังสือ รับรอง คุณภาพ "มาตรฐานเกษตรอินทรีย์"


หนังสือรับรอง มาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ ที่บริษัท"อัลโกเทค" ได้รับ

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การใช้ปุ๋ย "ไบโอฟอสก้า" สำหรับ สวนผลไม้

ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ด้วยเทคโนโลยี “ชีววิธี”ง่ายและได้ผลดี
เทคโนโลยี “ ชีววิธี ” คือ การนำเอาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(จุลินทรีย์) ตามธรรมชาติ เฉพาะที่สามารถสร้างปุ๋ยได้ มาเพิ่มจำนวน และนำไปใส่ดินเพาะปลูกทดแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง เพื่อช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต และช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกว่าปุ๋ยชีวภาพนั่นเอง
การใส่ปุ๋ยแบบ “ ชีววิธี ” ลด “ ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง ”ย
ประเภทพืช
เคยใช้ปุ๋ยเคมี
รวม กก./ไร่
เปลี่ยนเป็น
ปุ๋ยชีวภาพ
กก./ไร่
ปุ๋ยเคมี
กก./ไร่
สวนผัก สวนครัว เช่น พริก มะเขือ แตงกวา ผักกาด กระหล่ำปลี คะน้า ฯลฯ
พืชไร่ เช่น หอม กระเทียม ข้าวโพด ถั่ว
มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ฯลฯ
60
80
100
120
30
40
50
60
30
40
50
60
ประเภทพืช
กก./ต้น
กก./ต้น
กก./ต้น
ไม้ผลทุกชนิด และ ต้นเล็ก
ยางพารา ปาล์มน้ำมัน (หรือรองก้นหลุม)


ต้นใหญ่
1
2
1
2
4
6
8
½
1
½
1
2
3
4
½
1
½
1
2
3
4

คำแนะนำ… 1. สวนผัก พืชไร่ ควรใส่ตอนเตรียมดิน ไม้ผลควรเริ่มจากรองก้นหลุมปลูก
2. ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ หรือฮอร์โมน เพิ่มเติมอีก
3. ปุ๋ยชีวภาพ สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ และหว่านทันที ไม่ควรผสมทิ้งไว้ เพราะจะทำให้ปุ๋ยเคมีละลายจับตัวเป็นก้อน
4. เก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพในที่ร่ม ไม่เปียกชื้น เก็บรักษาได้ 2 ปี
ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ …
1. เพิ่มผลผลิต 18-20%
2. คุณภาพผลผลิต ผลงาม ผลดก ได้น้ำหนัก เพราะได้ธาตุอาหารตามธรรมชาติ
3. ลดต้นทุนการผลิต อย่างน้อย 15% เพราะลดการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง
4. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ที่มีประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพจะโตในดิน และเมื่อตายไปก็จะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์เติมให้กับดิน โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
5. ดินจะร่วนซุย ช่วยอุ้มน้ำยามฝนทิ้งช่วง
6. ใส่ต่อเนื่องทุกฤดูปลูก จะฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว และช่วยป้องกันโรคทางราก
7. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยชักนำระบบนิเวศธรรมชาติกลับคืนสู่ผืนดิน ฝ่ายวิชาการ ATC

การใช้ปุ๋ย "อัลจินัว"สำหรับ นาข้าว

ทำนาข้าวด้วยเทคโนโลยี “ ชีววิธี ” ง่าย และ ได้ผลดี
เทคโนโลยี “ ชีววิธี ” คือ การนำเอาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(จุลินทรีย์) ตามธรรมชาติ เฉพาะที่สามารถสร้างปุ๋ยได้ มาเพิ่มจำนวน และนำไปใส่ดินเพาะปลูกทดแทนปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาแพง เพื่อช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต และช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกว่าปุ๋ยชีวภาพนั้นเอง
การใส่ปุ๋ยนาข้าวปกติ ทั่วไป ใส่ 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 นาดำใส่หลังปักดำ 3-7 วันนาหว่านใส่หลังข้าวงอก 20 – 30 วัน
ครั้งที่ 2 ก่อนข้าวตั้งท้อง (กำเนิดช่อดอก) ประมาณ 70 วัน
การใส่ปุ๋ยนาข้าวแบบ “ ชีววิธี ” ลด “ ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง ”ย


ใส่ปุ๋ยนาข้าวแบบ “ ชีววิธี ”



“ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง ”

เคยใช้ปุ๋ยเคมี
กก./ไร่

ใส่ครั้งที่ 1
ปุ๋ยเคมี + ปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยสูตร “อัลจินัว”
ใส่ครั้งที่ 2
ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยสูตร



รวมใช้ปุ๋ย
กก./ไร่
ลดการใช้
ปุ๋ยเคมี
กก./ไร่

35

10 + 25
-



35
25

50

20 + 25
5



50
25

75

25 + 25
10



60
40

100

25 + 25
25



75
50

คำแนะนำ… 1. ปุ๋ยชีวภาพ ใส่เพียงครั้งแรก ครั้งเดียวพอ
2. ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ หรือฮอร์โมน เพิ่มเติมอีก
3. ปุ๋ยชีวภาพ สามารถผสมปุ๋ยเคมีได้ และหว่านทันที ไม่ควรผสมทิ้งไว้ เพราะจะทำให้ปุ๋ยเคมีละลายจับตัวเป็นก้อน
4. เก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพในที่ร่ม ไม่เปียกชื้น เก็บรักษาได้ 2 ปี
5. ดินนาต้องมีความชื้น หรือน้ำขัง ช่วงใส่ปุ๋ย 3 – 4 สัปดาห์
ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ …
1. เพิ่มผลผลิต 18-20% หรือได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100 กก./ไร่
2. คุณภาพข้าวดีขึ้น เมล็ดสวย ไม่หักง่าย ได้น้ำหนัก เพราะได้ธาตุอาหารตามธรรมชาติ
3. ลดต้นทุนการผลิต ประมาณ 15% เพราะลดการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง
4. สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว จากปุ๋ยชีวภาพจะโตในนา และเมื่อตายไปก็จะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์เติมให้กับดินนา โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
5. ดินผสมสาหร่าย จะร่วนซุย ช่วยอุ้มน้ำยามฝนทิ้งช่วง
6. ใส่ต่อเนื่องทุกฤดูปลูก จะฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นอย่างรวดเร็ว
7. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยชักนำระบบนิเวศธรรมชาติกลับคืนสู่ผืนดิน
ฝ่ายวิชาการ ATC.

20 คำถามกับการใช้ ปุ๋ย "อัลจินัว"

เทคโนโลยี “ ชีววิธี ” กับ 20 คำถาม ของเกษตรกรไทย
1. ทำไมปลูกข้าวไม่งาม ได้ผลผลิตน้อย ?
ตอบ เพราะดินแข็ง เสื่อมสภาพ หมดความอุดมสมบูรณ์แล้ว
2. ทำไมดินแข็ง เสื่อมสภาพ ?
ตอบ เพราะใช้ปุ๋ยเคมี เพียงอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังใช้สารพิษ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง เผาตอซัง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพทั้งสิ้น
3. จะแก้ไขดินอย่างไร ?
ตอบ แก้ได้โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง และทดแทนด้วยการใช้ ปุ๋ยชีวภาพ “อัลจินัว” จะเห็นผลทันทีเมื่อเก็บเกี่ยว
4. ปุ๋ยชีวภาพ คืออะไร ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการคัดเลือกจุลินทรีย์ (สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว) เฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน และพืช นำมาเพาะเลี้ยงตามหลักวิชาการ เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ให้มากพอที่จะสร้างธาตุอาหาร(ปุ๋ย) และฮอร์โมน ให้พืชเจริญงอกงาม และสามารถปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
5. จุลินทรีย์จำนวนเท่าใด ที่ว่ามากพอ ?
ตอบ ตามหลักวิชาการ ต้องมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (ระบุชื่อ และชนิดได้ เช่น Anabeana sp., Nostoc sp., Calotric sp.,)จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ล้านเซลล์ ต่อน้ำหนักปุ๋ย 1 กิโลกรัม จึงจะพอเพียงต่อการสร้างปุ๋ย และปรับปรุงดิน
6. ใครเป็นผู้คิดค้นเรื่องนี้ ?
ตอบ เป็นผลงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนามากว่า 20 ปี และได้ใช้จริง เห็นผลดีจริง กับดินนาของเกษตรกรกันแล้ว
7. ได้ผลจริงหรือ ?
ตอบ ยืนยันว่าได้ผลแน่นอน เกษตรกรควรทดสอบเอง ไม่ต้องมาก ลองทำตามคำแนะนำเพียง 1-2 ไร่ จะเห็นผลอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งได้ข้าวมากขึ้น ลงทุนน้อยลง ดินก็ดีวันดีคืน
8. มีคนบอกว่า ใช้ปุ๋ยชีวภาพแล้วไม่ได้ผล ?
ตอบ ที่ใช้ไม่ได้ผลเพราะ
1. ถูกหลอกลวง ให้ซื้อปุ๋ยชีวภาพที่ไม่มีคุณภาพ (ปลอม)
2. ใช้ผิดวิธี ไม่ใช้ตามคำแนะนำ
3. เข้าใจผิดว่าปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยชีวภาพ หรือเหมือนกัน

20 คำถาม กับ การใช้ปุ๋ยไบโอฟอสก้า

เทคโนโลยี “ ชีววิธี ” กับ 20 คำถาม ของเกษตรกรไทย ย
1. ทำไมปลูกสวนผัก พืชไร่ ไม้ผล ไม่งาม ได้ผลผลิตน้อย ?
ตอบบ เพราะดินแข็ง เสื่อมสภาพ หมดความอุดมสมบูรณ์แล้ว
2. ทำไมดินแข็ง เสื่อมสภาพ ?
ตอบบ เพราะใช้ปุ๋ยเคมี เพียงอย่างเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อีกทั้งยังใช้สารพิษ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพทั้งสิ้น
3. จะแก้ไขดินอย่างไร ?
ตอบบ แก้ได้โดยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่ง และทดแทนด้วยการใช้ ปุ๋ยชีวภาพ “ไบโอฟอสก้า” จะเห็นผลทันทีเมื่อเก็บเกี่ยว
4. ปุ๋ยชีวภาพ คืออะไร ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการคัดเลือกจุลินทรีย์ เฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน และพืช นำมาเพาะเลี้ยงตามหลักวิชาการ เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ให้มากพอที่จะสร้างธาตุอาหาร(ปุ๋ย) และฮอร์โมน ให้พืชเจริญงอกงาม และสามารถปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
5. จุลินทรีย์จำนวนเท่าใด ที่ว่ามากพอ ?
ตอบบ ตามหลักวิชาการ ต้องมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ (ระบุชื่อ และชนิดได้ เช่น Aspergillus sp., Penicilium sp., Bacillus sp.) จำนวนไม่น้อยกว่า 100 ล้านเซลล์ ต่อน้ำหนักปุ๋ย 1 กิโลกรัม จึงจะพอเพียงต่อการสร้างปุ๋ย และปรับปรุงดิน
6. ใครเป็นผู้คิดค้นเรื่องนี้ ?
ตอบบ เป็นผลงานของ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิจัยและพัฒนามากว่า 20 ปี และได้ใช้จริง เห็นผลดีจริง กับดินเพาะปลูกของเกษตรกรแล้ว
7. ได้ผลจริงหรือ ?
ตอบบ ยืนยันว่าได้ผลแน่นอน เกษตรกรควรทดสอบเอง ไม่ต้องมาก ลองทำตามคำแนะนำเพียง 1-2 ไร่ จะเห็นผลอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งได้ผลผลิตมากขึ้น ลงทุนน้อยลง ดินก็ดีวันดีคืน
8. มีคนบอกว่า ใช้ปุ๋ยชีวภาพแล้วไม่ได้ผล ?
ตอบบ ที่ใช้ไม่ได้ผลเพราะ
1. ถูกหลอกลวง ให้ซื้อปุ๋ยชีวภาพที่ไม่มีคุณภาพ (ปลอม)
2. ใช้ผิดวิธี ไม่ใช้ตามคำแนะนำ
3. เข้าใจผิดว่าปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยชีวภาพ หรือเหมือนกัน
9. แล้วทำอย่างไร จึงไม่ถูกหลอก ?
ตอบบ ให้เกษตรกรสังเกต
1. มีหน่วยงานราชการ หรือกรมวิชาการเกษตรรับรอง หรือถ้าไม่มีอย่าซื้อ
2. ผู้ขายมีหลักแหล่งที่แน่นอน หรือไม่ ถ้าไม่มีอย่าซื้อ
3. อย่าซื้อเพราะมีของแจก ของแถม หรือราคาถูก เพราะจะได้ไม่คุ้มเสีย
10. ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร ?
ตอบบ ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งแบ่งเป็น
1. ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์
2. ปุ๋ยหมัก ได้จากการหมักซากพืช ซากสัตว์ มีทั้งแบบแห้ง และแบบน้ำ
3. ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ และไถกลบหมักในดินก่อน
ทำการเพาะปลูกจริง
11. แล้วทำไม ต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ ไม่ใช้อินทรีย์ ?
ตอบบ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ดีแน่ แต่ปุ๋ยอินทรีย์ต้องใช้จำนวนมาก (500-2,000 กก./ไร่) และต้องใช้เวลาย่อยสลายให้เกิดการสะสมธาตุอาหารในดิน โดยในช่วงแรกของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อาจทำให้ผลผลิตลดลง และที่สำคัญเกษตรกรจะประสบปัญหาไม่รู้จะหาปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากๆ ได้อย่างไร ส่วนปุ๋ยชีวภาพจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งยังสร้างปุ๋ยอินทรีย์แถมให้ฟรี ๆ อีกด้วย
12. ปุ๋ยชีวภาพสร้างปุ๋ยอินทรีย์ได้อย่างไร ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ในรูปของพืช(สาหร่าย,เชื้อรา) และสัตว์(แบคทีเรีย) เป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อสิ่งเหล่านี้ตายไป ก็เป็นซากพืช ซากสัตว์ คือปุ๋ยอินทรีย์นั่นเอง
13. ทำไมรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ?
ตอบบ เพราะเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ต้นทุนสูง ดินเสียหาย และต้องการให้เกษตรกรนำเศษซากพืช ที่ถูกทิ้งสูญเปล่า มาทำให้เกิดประโยชน์ ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ และประกาศเป็นวาระแห่งชาติด้วย
14. ปุ๋ยชีวภาพ มีสูตรแบบปุ๋ยเคมี หรือไม่ ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ กำหนดสูตรคนละแบบกับปุ๋ยเคมี คือ
1. กำหนดชื่อ ชนิดเฉพาะจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน และสร้างปุ๋ยได้
2. กำหนดปริมาณจุลินทรีย์ มากพอที่จะสร้างปุ๋ยทดแทนปุ๋ยเคมีได้
3. กำหนดวัสดุรองรับ (เนื้อปุ๋ย) ที่เป็นธาตุอาหารตามธรรมชาติของพืช
จากการวิจัยและปฎิบัติจริง พบว่า เมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทน ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ครึ่งหนึ่ง ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่ม คุณภาพผลผลิตดีขึ้น ดินก็ร่วนซุยขึ้น ภายหลังการใช้เพียง 3 – 4 เดือน จึงสรุปได้ว่าปุ๋ยชีวภาพไม่เพียงแต่ให้ผลเท่าปุ๋ยเคมี แต่ยังช่วยฟื้นฟูดินให้อุดมสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว

15. ใช้ปุ๋ยชีวภาพอย่างเดียวได้หรือไม่ ?
ตอบบ ใช้ได้ ในกรณีที่ดินอุดมสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันดินเพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศไทยเสื่อมสภาพ ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงควรเริ่มจากการลดการใช้เคมีครึ่งหนึ่งก่อน และใช้ปุ๋ยชีวภาพทดแทน จากนั้นเมื่อดินเริ่มดีขึ้น จึงค่อย ๆ ลดการใช้เคมีลง




16. เกษตรกรมีปุ๋ยอินทรีย์อยู่บ้าง จะใช้ผสมผสานได้หรือไม่ ?
ตอบบ การใส่ปุ๋ยผสมผสานกัน เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด พืชจะได้ปุ๋ยตามธรรมชาติ ทั้งปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ ใส่มากก็ไม่เป็นไร เพราะไม่เป็นอันตรายต่อ คน สัตว์ และพืช ส่วนปุ๋ยเคมีควรใส่ตามความจำเป็นไม่ต้องมาก
17. แล้วสัดส่วนการใส่ปุ๋ยชีวภาพ , ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ควรผสมผสานอย่างไร ?
ตอบบ สัดส่วนตายตัวไม่มี เพราะดินแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่มีแนวทางเบื้องต้น คือปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ปุ๋ยอินทรีย์ถ้ามีมากก็ใส่มากได้ เช่น
ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี
สัดส่วน 1 1-10 1 ส่วน
ปุ๋ย 150 กก./ไร่ 50 50 50 กก.
200 กก./ไร่ 50 100 50 กก.

อนึ่ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากหรือน้อย ควรคำนึงถึงจำนวนเงินด้วย และถ้าทำได้เอง โดยไม่ต้องซื้อจะเป็นการดีที่สุด
18. ปุ๋ยชีวภาพไบโอฟอสก้า ช่วยแก้ปัญหาโรคพืช ได้หรือไม่?
ตอบบ แก้โรครากเน่า โคนเน่าได้ เนื่องจากมีกลุ่มจุลินทรีย์ Trichoderma sp. ผสมอยู่ในปุ๋ยด้วย จุลินทรีย์เหล่านี้จะไปทำลายเชื้อโรคในดิน ที่ทำให้รากเน่า โคนเน่า ยอดเหี่ยวทำให้ต้นไม้ตายได้ และถ้าได้ใส่รองก้นหลุมปลูก หรือใส่ตอนเตรียมดิน จะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
19. จุลินทรีย์ที่คัดเลือกมาทำปุ๋ยชีวภาพ จะทนต่อยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าได้หรือไม่?
ตอบบ จากงานวิจัยและทดสอบในแปลงปลูกจริง พบว่า ถ้าเกษตรกรผสมยาดังกล่าวตามอัตราแนะนำข้างขวด จุลินทรีย์ในปุ๋ยชีวภาพสามารถทนได้
20. ปุ๋ยชีวภาพ “ไบโอฟอสก้า” มีหน่วยงานใดรับรองบ้าง ?
ตอบบ ปุ๋ยชีวภาพ “ไบโอฟอสก้า” มีหน่วยงานราชการรองรับ คือ
1. เป็นผลงาน วิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีตราประทับข้างกระสอบ
2. ได้รับการขึ้นทะเบียนปุ๋ยชีวภาพ ต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. อยู่ภายใต้การควบคุมฉลาก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

บทส่งท้าย ที่ดินก็ที่เดิม คนปลูกก็คนเดิม วิธีปลูกก็วิธีเดิม เพียงเปลี่ยนวิธีใส่ปุ๋ยแบบ “ชีววิธี” ซึ่งง่ายนิดเดียว เกษตรกรก็จะสามารถแก้ปัญหายาก ๆ ได้ อีกทั้งยังได้ผลผลิตเพิ่ม ลดต้นทุนลง และดินก็ดีวันดีคืน เกิดความยั่งยืนในภาคการเกษตรไปจนชั่วลูกชั่วหลานไทย
_____________________________



ฝ่ายวิชาการ ATC.